มาดีวิธีการย้อมสีไม้กันดีกว่า

การย้อมสีไม้
ในการทำ เคลือบผิวไม้ ขั้นตอนหนึ่งที่ยุ่งยากคือการย้อมสี เพราะมันอาจเกิดปัญหา บางอย่างขึ้นเช่น รอยด่าง (Splotching), รอยขวางที่เกิดจากการขัด (Steaking), การเข้ากันไม่ได้ของ สีย้อมกับ ตัวเคลือบ และเป้าหมายของการย้อม เราควรกำหนดไว้ว่าเพื่อทำให้เนื้อไม้โดดเด่นไม่ใช่ลบหรือซ่อนเนื้อไม้ เพราะถ้าหากต้องการซ่อนเนื้อไม้ควรใช้วิธี Paint สี ซึ่งจะไม่เห็นเนื้อไม้ เลย

สี มันช่วยให้ชิ้นงานสวยขึ้น ทำให้เนื้อไม้กลมกลืนกัน ได้ โดยเฉพาะเมื่อนำไม้มาต่อกัน (Joint) สีเดิมอาจไม่เท่ากัน แต่เมื่อย้อมแล้วทำให้สีกลมกลืนกันไปได้ ไม้ที่ไม่ค่อยมีราคาเมื่อย้อมแล้วทำให้ดูมีค่ามีราคาได้ การย้อมสีเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอต่อความสวยงามจึงต้องมี การเคลือบ การทำโทน การทำเงาจะทำให้ครบสมบูรณ์ถึงความสวยงาม การย้อมสีที่ผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจากการเลือกสีที่ผิด สีย้อม = Colorant (Pigment or Dye) + Binder + Thickness โดยที่ ถ้าตัวที่เป็น Colorant เป็น Dye ไม่จำเป็นต้องมี Binder เพราะ Binder เป็นตัวที่จะให้เม็ดสีที่เป็น Pigment ยึดติดกับเนื้อไม้ ส่วน Dye สามารถซึมเข้าเนื้อไม้ได้อยู่แล้ว หากคุณต้องการทราบว่า สีย้อมที่ใช้เป็นประเภทไหน ทำจากอะไร ใช้เวลานานเท่าใดจึงจะแห้ง ผู้ผลิตไม่ค่อยบอกรายละเอียดมากนัก สีแต่ละยี่ห้อ ให้ผลออกมาแตกต่างกัน สีบางอย่างเมื่อใช้แล้วได้ไม่ตรงตามความต้องการ การซึมได้ไม่เท่ากัน ไม้แต่ละชนิดมีเนื้อไม่เหมือนกันทำให้ผลของสีชนิดเดียวกัน ต่อไม้ต่าง ๆ จะให้ผลต่างกันไปด้วย Veneer ก็จะให้สีไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ได้ เพราะมีกาวมาก การซึมของเนื้อสีผ่านกาวไม่ค่อยดีนัก
Pigment เป็น Color ที่ได้จากการสังเคราะห์ เป็นส่วนใหญ่ ขนาดของ Particle มีขนาดใหญ่ ถ้าใช้มาก ๆ มันจะบังกันเอง ทำให้ไม่สามารถมองเห็นเนื้อไม้ได้ การใช้งานต้องเขย่าให้กระจายตัวออกก่อนใช้งาน อาจมีการตกตะกอนนอนก้นได้ดังนั้นต้องคนอยู่เรื่อย ๆ ระหว่างทา เมื่อทาสีย้อมประเภทนี้แล้วหากเช็ดออก สีที่โดดเด่นจะอยู่ในร่องรอยของเสี้ยนไม้ รอยจิก รอยสิ่ว หากไม่เช็ดออก สีจะกระจายกันอยู่ ทำให้สีหนาเข้มขึ้นได้
Dye ตัวอย่างเช่นสีในกาแฟ น้ำชา ผล Berries ซึ่งเป็นสีจากธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันเป็นสารสังเคราะห์ เช่น Aniline Dye มีสีให้เลือกมากมาย มันจะซึมเข้าสู่เซลของเนื้อไม้ ทำให้มีลักษณะกลมกลืนกัน และ Transparent ไม่เหมือน Pigment ซึ่งมีความทึบ และอยู่ตามร่องรอยเสี้ยนไม้ นอกจากนี้ Dye ยังไม่ต้องการ Binder อีกด้วย เนื่องจาก Dye ละลายใน Solvent ทำให้เราเปลี่ยนความสว่างของเนื้อสีที่ทาไปแล้ว ได้ โดยใช้ Solvent หรือสีที่ทาไปแล้วหากต้องการเปลี่ยน เราก็สามารถทำได้ด้วย แต่ก็ต้องระวังเรื่อง ของตัว สารเคลือบที่ทาไปแล้ว หากใช้ Solvent อาจไปละลายตัว สารเคลือบ ออกมาด้วย Dye ละลายในอะไรได้บ้าง ได้แก่ Alcohol, Water, Mineral Spirit, Thinner แล้วแต่ชนิดของ Dye เราจึงแยกเป็น Water, Alcohol, Oil บางทีเราผสม Dye ลงไปในตัว สารเคลือบ เลยเป็นต้น เช่น Dye ที่ละลายใน Alcohol จะผสมลงใน Shellac ส่วน Dye ที่ละลายใน Oil ก็จะผสมกับ Varnish เป็นต้น ในบรรดาสีทั้งสามแบบ water base จะแห้งช้าที่สุด และซึมเข้าเนื้อไม้ได้มากสุดหากทิ้งไว้ซักพักแล้วค่อยเช็ดออก ราคาถูก ไม่ติดไฟ แต่การที่มันมีน้ำ ทำให้ Grain ของไม้ยกตัวสูงขึ้นเรียกว่า ยกเสี้ยน ดังนั้น อาจจะมีการขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียดมาก ๆ เมื่อแห้งแล้ว เบอร์ 600 ต่อมาได้คิดค้นตัวทำละลายโดยไม่ใช้น้ำ เช่น Glycol Ether เป็น NGR (None Grain Raising) ผสมสารละลายไว้เรียบร้อย นำไปผสม Shellacได้เลย
Dye ที่ละลายใน Alcohol, Thinner ไม่ทำให้ Grain สูงขึ้นอยู่แล้ว เพราะมันแห้งเร็วนั้นเอง แต่เราก็ไม่ได้เรียกว่า NGR
มีข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่าง Dye กับ Pigment 1. Dye จะมีลักษณะ Transparent 2. Dye จะแทรกซึมเข้าไปในเซลด้วย ส่วน Pigment แทรกอยู่ตามร่อง รู รอยเสี้ยนไม้ 3. Dye จะละลายในสารละลายได้ ดีกว่า Pigment และ Dye ยังทำให้จางลง เข้มขึ้น และเปลี่ยนสีได้แม้จะทาไปแล้ว สีย้อมบางชนิดมีทั้ง Dye และ Pigment ผสมกันอยู่ และ มี Binder ช่วยทำหน้าที่เป็นเหมือนกาวยึด Pigment ให้ติดกับเนื้อไม้ ช่าง มักจะชอบสีประเภทนี้ เพราะสีสามารถเน้นหนา ขึ้นในส่วนที่ Pigment ไม่สามารถทำได้

Binder เปรียบเสมือนกาวที่ยึด Pigment ให้ติดกับเนื้อไม้ ถ้าไม่มี Binder ตัว Pigment ก็จะถูกปัดออกจากเนื้อไม้ได้โดยง่าย และ Binder ส่วนใหญ่ก็คือ พวก Oil ต่าง ๆ ที่เคลือบเนื้อไม้นั่นเอง เราสามารถจะทำสีย้อม โดยผสม Pigment กับ Binder ด้วยตัวเราเอง Oil Binder จะแห้งช้า Varnish และ Water base จะแห้งปานกลาง Lacquer แห้งเร็ว อุณหภูมิ และ ความชื้นมีผลต่อการแห้งแข็ง สีย้อมที่ใช้ Oil หรือ Varnish ใช้ Mineral Spirit เป็นตัวทำละลาย สีย้อมที่ใช้ Lacquer เป็น Binder จะใช้ Lacquer Thinner เป็นตัวทำละลาย สีย้อมที่ใช้ Water base เป็น Binder จะใช้ Water เป็นตัวทำละลาย ไม่ว่า Binder จะเป็นอะไร เมื่อมันแห้งไปแล้ว จะให้ผลออกมาเหมือนกัน แต่สำคัญที่การแห้ง และการ bond,Oil และ Varnish จะแห้งช้า โดย Oil จะแห้งช้ากว่า และถ้าใช้ Oil/Varnish ก็จะแห้งช้ากว่า อาจใช้เวลาถึง 2-3 วันDarnish Oil ใช้เวลา 1 วัน ช่วง เวลาที่เราจะต้องเช็ดสีส่วนเกินออก ขึ้นอยู่กับ Binder ว่าแห้งช้าหรือเร็ว ให้เราสังเกต ดูว่าข้างกล่องบอกว่าต้องทิ้งไว้ข้ามคืน
การใช้ Aniline Dye Water, Alcohol และ Oil dye Stain ส่วนใหญ่ขายในรูปผง เราต้องละลายเอง ส่วน พวก NGR จะขายในรูปสารละลายสำเร็จรูป หากคุณต้องละลายเอง ต้องแน่ใจว่าใช้สารละลายที่ถูกต้อง ในการผสมไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ ควรใช้แก้วหรือขวดปากกว้างจะดีที่สุด ยิ่งถ้ามีสีชายิ่งดี แต่ถ้าเป็นสีชาอาจมองสีไม่เห็น การผสมสีอาจไม่ตรงตามข้างขวดดังนั้นต้องสังเกต และผสมข้ามบริษัทกันได้ถ้ามันละลายในสารละลายประเภทเดียวกัน และหากคุณจดบันทึกปริมาณการใช้ สัดส่วนไว้ การผสมคราวต่อไปก็จะได้สีที่เหมือนเดิมสม่ำเสมอ การทาใช้ผ้าทอที่เป็นเส้นใยเช็ดจะให้ผลดีมาก เพราะมันช่วยกำจัดเศษฝุ่นให้ด้วย สีจะละลายในน้ำอุ่นได้ดีว่าน้ำเย็น ในการผสมสีที่ละลายน้ำ ควรใช้น้ำกลั่นจะให้ผลดีสุด การทา Aniline Dye หากคุณได้ทดสอบบนเศษไม้ชนิดเดียวกับที่คุณจะทาจริง ๆ ก็จะเป็นการดี วิธีการอาจใช้ผ้าชุบทาเรียกว่า Wet Staining แล้วเช็ดออก หรือ อาจจะใช้วิธีพ่นบาง ๆ หรือใช้แปลงทาบาง ๆ แต่ หลาย ๆ รอบ สีมีความโปร่งใสดังนั้นมันไม่บดบังลายของไม้ สี่ที่ละลายในน้ำ แห้งช้าดังนั้นมีเวลามากพอที่จะเช็ดมันออก ก่อนที่มันจะแห้ง และวิธีการที่ดีที่เราจะทาอะไรก็ตามที่ละลายในน้ำเราต้องกำจัด เศษเสี้ยน ไฟเบอร์ออกโดยวิธีการที่เรียกว่า Sponging คือเอาฟองน้ำชุบน้ำหมาด ๆ แล้วเช็ดไปบนไม้ที่จะทำสี ทิ้งไว้ให้แห้ง 1 คืน แล้วขัดออก เพื่อกำจัดอะไรก็ตามที่จะยกตัวขึ้นเมื่อมีการ ทาด้วยน้ำ วิธีที่ดีที่สุดในการย้อมสีก็คือใช้ Spray แล้วใช้ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดส่วนเกิน พวก Alcohol, Oil, NGR พวกนี้จะละเหยเร็ว ไม่มีเวลาเช็ดออก หากใช้วิธีพ่นจะให้ผลงานออกมาดี สีเท่าเทียมกัน และสีที่ใช้ทั้งในอุตสาหกรรม และ ช่างไม้ทั่วไปใช้มักจะเป็นพวก NGR โดยใช้พ่นเอา ส่วนมือสมัครเล่นใช้พวก water base เพราะทาแล้วเช็ดออกได้มีเวลามากพอ ในการพ่นต้องให้บาง มาก ๆ สีจะได้สม่ำเสมอ ในการใช้แปลงคุณต้องทาให้ยาวที่สุดจนสีแห้ง ไปตามลายไม้ สังเกตขอบที่ยังเปียก ทาออกไปทับกันเล็กน้อย โดยยังไม่ต้องจุ่มสีใหม่จนเห็นว่า พื้นเริ่ม แห้ง ๆ การเช็ดบางส่วนออก อาจใช้ผ้าสะอาดชุบตัวทำละลายพอหมาด ๆ เพื่อเช็ด ในการย้อม คุณอาจทำให้บริเวณตาของไม้ และบริเวณ เนื้อไม้ ไม่มีความแตกต่างกันมากนักได้ การใช้ไม้ต่างต้นกันมาต่อกัน การย้อมก็จะช่วยได้ โดยทาบริเวณที่ อ่อนกว่าก่อน ในการทำให้ขอบหรือบางพื้นที่เจือจางลงเราจะใช้ Solvent ทาบริเวณที่ ต้องการ สีจะกระจายตัวออกและเจือจางลงได้ ในการทำให้สีเข้มขึ้นคุณต้องผสมให้เข็มขึ้นแล้วทาทับเข้าไป คุณไม่สามารถทำให้เข้มขึ้นด้วยการใช้สีเดิมทาทับแล้วเช็ด ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนสี ผสมใหม่ แล้วทาทับลงไป ถ้าคุณต้องการให้อ่อนลงใช้ Solvent เช็ดออก
